สัญญาณเตือน ตับอ่อนอักเสบ

อวัยวะที่หลายคนมองข้าม แต่จริง ๆ แล้วมีความสำคัญต่อร่างกายมาก คือ ตับอ่อน เมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นมา เช่น ตับอ่อนอักเสบ ซึ่งถือเป็นความผิดปกติของทางเดินอาหารที่รุนแรงและควรพบแพทย์โดยด่วน ก่อนอื่นมารู้จักหน้าที่ของตับอ่อนกันก่อน ตับอ่อนทำหน้าที่หลั่งเอนไซม์ที่สำคัญหลายชนิดเพื่อช่วยในการย่อยอาหาร และยังเป็นอวัยวะที่สร้างอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในกระแสเลือดให้เหมาะสม ไม่ให้มีระดับน้ำตาลในเลือดที่มากเกินไป ดังนั้น เมื่อตับอ่อนทำงานผิดปกติขึ้นมา หน้าที่เหล่านี้จะบกพร่องและเกิดผลเสียต่อร่างกาย ความผิดปกติที่พบบ่อยที่สุดของตับอ่อน คือ ภาวะตับอ่อนอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ คืออะไร ตับอ่อนอักเสบ หมายถึง การอักเสบของเนื้อตับอ่อน พบได้บ่อยในผู้ที่ดื่มสุราเรื้อรัง หรือคนที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดี พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน และตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง สัญญาณอันตรายของตับอ่อนอักเสบ อาการหรือสัญญาณอันตรายที่อาจต้องนึกถึงตับอ่อนอักเสบ ได้แก่ ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน จะมีอาการ 1. ปวดท้องอย่างรุนแรง และเกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน อาจปวดร้าวไปด้านข้างหรือด้านหลัง ปวดอยู่นานหลายวัน 2. ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ลำไส้ไม่ค่อยเคลื่อนไหวเพราะขาดเอนไซม์ที่ช่วยย่อยอาหารจากตับอ่อน 3. มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน กระสับกระส่าย ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง จะมีอาการคล้าย ๆ…

ทางเดินอาหาร
acare_Gastro_constipation_kidney_disease

ภาวะท้องผูก เป็นปัญหาที่พบบ่อยและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง พบว่าคนไข้โรคไตมักมีภาวะท้องผูกมากถึงร้อยละ 37.3 โดยภาวะท้องผูกในผู้ป่วยโรคไตนั้น จะมีสาเหตุและปัจจัยแตกต่างกับคนทั่วไปหรือไม่ และมีวิธีจัดการอย่างไร ในบทความนี้เรามาเรียนรู้กัน1 ชนิด สาเหตุและความสำคัญของท้องผูกในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ภาวะท้องผูกเรื้อรัง แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ชนิดปฐมภูมิ ได้แก่ การกลั้นการขับถ่าย การทำงานของลำไส้ที่ผิดปกติ ลำไส้มีการเคลื่อนไหวลดลง และชนิดทุติยภูมิ มักเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท ความผิดปกติทางเมทาบอลิซึม และการใช้ยาบางชนิด เป็นต้น2 สาเหตุของภาวะท้องผูกเรื้อรังที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคไต ได้แก่ มีโรคประจำตัวอื่นร่วมด้วย เช่น เบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ ไทรอยด์ทำงานลดลง ยาที่รับประทานเป็นประจำ เช่น ยาลดความดันโลหิตบางกลุ่ม ธาตุเหล็กบำรุงเลือด แคลเซียม ยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์ และยาต้านเศร้าบางกลุ่ม และสาเหตุอื่นมักเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การดื่มน้ำน้อย การรับประทานใยอาหารหรือไฟเบอร์น้อย เช่น ผักและผลไม้ และการไม่ออกกำลังกาย เป็นต้น2 โดยจากข้อมูลการศึกษาทางวิชาการพบว่าการรักษาภาวะท้องผูกในคนไข้โรคไตนั้นมีความสำคัญ เนื่องจากพบว่าคนไข้โรคไตที่มีภาวะท้องผูกร่วมด้วยจะมีความเสี่ยงของการเป็นโรคไตระยะสุดท้าย มากกว่ากลุ่มที่ไม่มีภาวะท้องผูกสูงถึง 1.9 เท่า3 การจัดการภาวะท้องผูกในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ภาวะท้องผูกโดยทั่วไปอาจเริ่มต้นด้วยการปรับพฤติกรรม เช่น…

ทางเดินอาหาร
THL2173067-4 EXP:(7-Nov-2024)