acare_Gastro_food_basra

ทุกคนรู้จักอาการท้องเสียกันดีอยู่แล้ว แต่ลองมาดูความหมายของอาการท้องเสียกันดีกว่าว่าเป็นอย่างไร? โรคอุจจาระร่วงหรือท้องเสีย หมายถึง ภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้งใน 1 วัน (หรือถ่ายเป็นน้ำจำนวนมากอย่างน้อย 1 ครั้งใน 1 วัน) หรือถ่ายมีมูกหรือปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง โรคอุจจาระร่วงแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ตามระยะเวลาที่เกิดอาการ คือ 1. โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน คือ มีอาการท้องเสียน้อยกว่า 14 วัน สาเหตุที่พบบ่อย คือ อาหารเป็นพิษ หรือติดเชื้อ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย 2. โรคอุจจาระร่วงเรื้อรัง คือ มีอาการท้องเสียมากกว่า 14 วัน การรักษาที่สำคัญ คือ ทดแทนน้ำที่สูญเสียไปโดยเน้นการให้น้ำเกลือแร่ ORS อย่างเพียงพอ ร่วมกับพิจารณาให้ยาบรรเทาอาการต่างๆ รวมถึงเรื่องของอาหารการกินในช่วงที่เกิดอาการท้องเสียก็เป็นสิ่งสำคัญ ควรรู้เกี่ยวกับอาหารที่เหมาะสมและอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในช่วงที่เกิดอาการ อาหารสำหรับโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน บางคนเข้าใจว่าช่วงที่เกิดอาการท้องเสียควรงดน้ำและอาหาร เพราะน้ำและอาหารอาจกระตุ้นให้ถ่ายเพิ่มขึ้น แต่ความเป็นจริงแล้วไม่จำเป็นต้องงดน้ำและอาหาร เพราะอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำมากขึ้นไปอีก…

ทางเดินอาหาร
ท้องผูกกับการเกิดสิว

คนที่ชอบเกิดสิวบนใบหน้า หากคอยสังเกตจะเห็นเลยว่าปัจจัยหนึ่งที่ดูเหมือนจะเกี่ยวข้องกับการเกิดสิว คือ อาการท้องผูก บางคนถึงขั้นว่าท้องผูกทีไรเกิดสิวตามมาทุกที ซึ่งเป็นเรื่องที่คาใจใครหลาย ๆ คน เนื่องจากไม่คิดว่าท้องผูกจะเกี่ยวข้องกับการเกิดสิวได้เพราะอวัยวะทั้งสองก็ดูห่างไกลกัน แต่ปัจจุบันนี้มีหลายเหตุผลที่ช่วยยืนยันเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี ทำไมท้องผูกแล้วทำให้เกิดสิวได้ 1. ท้องผูกแล้วทำให้เกิดความเครียด บางคนอาจจะเครียดโดยไม่รู้ตัว ซึ่งความเครียดเป็นสิ่งที่ทุกคนทราบเป็นอย่างดีว่าเป็นตัวการสำคัญของการเกิดสิว ซึ่งมักจะทำให้เป็นสิวอักเสบ สิวหัวช้าง 2. เมื่อท้องผูกทำให้เราขับของเสียออกไปไม่ได้ เกิดการคั่งค้างของของเสียในลำไส้ ซึ่งของเสียหรือสารพิษที่ตกค้างในลำไส้จะถูกดูดซึมออกมาจากลำไส้เข้าสู่กระแสเลือดได้ เมื่อของเสียและสารพิษเข้าสู่กระแสเลือด มันจะสามารถกระจายสู่ทั่วร่างกายได้ รวมทั้งผิวหนัง และผิวหนังยังเป็นอวัยวะหนึ่งที่ช่วยขับของเสียออกมา เมื่อผิวหนังสัมผัสกับของเสียหรือสารพิษก็ทำให้รูขุมขนอุดตันและเกิดสิวขึ้นมาได้ 3. ท้องผูกทำให้ระดับไขมันคอเลสเตอรอลสูงขึ้นได้ ซึ่งไขมันชนิดนี้ทำให้ระดับฮอร์โมนแอนโดรเจนสูงขึ้นได้ ซึ่งฮอร์โมนแอนโดรเจนเป็นตัวที่กระตุ้นการผลิตน้ำมันบนผิวหน้าได้ ทำให้เกิดสิวตามมา จากข้อมูลเหล่านี้ จะเห็นได้ว่าอาการท้องผูกทำให้เกิดสิวได้อย่างชัดเจน ดังนั้น การขับถ่ายอย่างปกติและสม่ำเสมอจะเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกันและรักษาสิวได้ วิธีจัดการอาการท้องผูกเพื่อลดการเกิดสิว 1. ลดความเครียด เพราะความเครียดเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดได้ทั้งอาการท้องผูกและสิว อาจใช้วิธีออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นั่งสมาธิ สวดมนต์ หรือหากิจกรรมที่ทำให้เกิดความสบายใจ 2. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ได้แก่ รับประทานอาหารที่มีกากใยเพิ่มขึ้น ลดอาหารจำพวกเบเกอรี่ ฟาสฟู๊ด และถ้าเป็นไปได้ การรับประทานข้าวกล้องแทนข้าวขาวจะได้ประโยชน์ตามมาหลายประการทีเดียว เพราะข้าวกล้องจะมีกากใยที่มากกว่าช่วยในการขับถ่าย และยังมีวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย รวมถึงข้าวกล้องยังมีน้ำตาลน้อยกว่าข้าวขาวอีกด้วย 3.…

ทางเดินอาหาร
Gastro_office_worker_irritable_bowel_IBS_thumbnail

โรคลำไส้แปรปรวน หรือเรียกสั้น ๆ ในทางการแพทย์ว่าโรคไอบีเอส (IBS: irritable bowel syndrome) เป็นโรคที่มีการทำงานผิดปกติในทางเดินอาหารโดยเฉพาะที่ลำไส้ แต่ไม่พบความผิดปกติทางโครงสร้างหรือพยาธิสภาพในระบบทางเดินอาหาร เป็นโรคที่มีลักษณะเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ ความเป็นจริงแล้วโรคลำไส้แปรปรวนพบได้บ่อย ในประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปพบได้ถึง 10-20 % ส่วนในประชากรไทยพบประมาณ 7 % แต่เนื่องจากอาการของโรคมีได้หลากหลายและไม่เฉพาะเจาะจง จึงพบว่ามีเพียง 15 % ของผู้ป่วยทั้งหมดที่มาพบแพทย์ ปัจจุบันผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนจึงยังไม่ได้รับการรักษาอย่างเพียงพอ ก่อให้เกิดความรำคาญใจและกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก มีสาเหตุมาจากอะไร  ปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แน่นอน แต่สาเหตุหรือปัจจัยที่อาจเกี่ยวข้องกับโรคลำไส้แปรปรวน ได้แก่ 1. การเคลื่อนไหวหรือการบีบตัวของลำไส้ผิดปกติ ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องผูก หรือท้องเสียได้ 2. ระบบประสาทที่ผนังลำไส้ไวต่อสิ่งเร้ามากผิดปกติ หรือพูดง่าย ๆ ว่าลำไส้ไวต่อตัวกระตุ้นที่มากกว่าปกติ เช่น หลังรับประทานอาหาร เมื่ออาหารลงมาสู่ลำไส้ ลำไส้มีการตอบสนองที่มากกว่าปกติ จึงมีการบีบตัวและเคลื่อนตัวมากขึ้น ทำให้ปวดท้องและท้องเสียตามมาได้ 3. ความเครียด หรือภาวะทางจิตเวช ก็พบว่าเกี่ยวข้องกับโรคลำไส้แปรปรวนได้ เนื่องจากสมองและทางเดินอาหารมีการทำงานที่เชื่อมโยงกัน จะสังเกตเห็นว่าเวลาที่เราเครียดมักพบอาการปวดท้องหรือความผิดปกติในการขับถ่ายได้ง่าย…

ทางเดินอาหาร
ท้องผูกขณะตั้งครรภ์

ท้องผูกขณะตั้งครรภ์เป็นปัญหาทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์ ทำให้อึดอัดแน่นท้อง ไม่สบายตัว ในบางรายเป็นมากจนเกิดความรู้สึกทรมาน เครียด และทำให้คุณภาพชีวิตลดลงได้อีกด้วย บางครั้งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น ริดสีดวงทวาร ดังนั้น เราจึงต้องรู้วิธีป้องกันและรักษาภาวะท้องผูกขณะตั้งครรภ์อย่างถูกวิธี ท้องผูกขณะตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้อย่างไร สาเหตุที่ทำให้คุณแม่ท้องผูกขณะตั้งครรภ์ คือ 1. ในช่วงที่ตั้งครรภ์โดยเฉพาะ 3 เดือนแรก จะมีการหลั่งฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่มากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อลำไส้คลายตัว ลำไส้จึงเคลื่อนไหวช้า จึงขับอุจจาระออกมาได้ลดลง 2. มดลูกขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ไปเบียดลำไส้จนโพรงลำไส้แคบลงและขับอุจจาระออกได้ยาก 3. วิตามินหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิดที่คุณแม่ใช้บำรุงก็อาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ เช่น แคลเซียม 4. ภาวะเครียดก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ท้องผูกได้ ท้องผูกขณะตั้งครรภ์สำคัญอย่างไร อันตรายหรือไม่ อาการท้องผูกทั่วไปในขณะตั้งครรภ์มักไม่เกิดอันตรายร้ายแรงต่อคุณแม่หรือเด็กในครรภ์ อย่างไรก็ตาม การปล่อยไว้โดยไม่แก้ไขอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น ริดสีดวงทวารหรือลำไส้อุดตัน หรือบางครั้งอาการท้องผูกอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคทางระบบทางเดินอาหารอื่น ๆ ที่รุนแรงได้ จึงควรหมั่นสังเกตตนเองและไม่นิ่งนอนใจกับอาการที่เกิดขึ้น จะจัดการภาวะท้องผูกขณะตั้งครรภ์อย่างไรดี การรักษาภาวะท้องผูกขณะตั้งครรภ์จะเน้นถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งการใช้ชีวิตและรับประทานอาหารให้เหมาะสม ดังนี้ 1. รับประทานอาหารที่มีกากใยเพิ่มขึ้น อาหารที่มีกากใยสูง ได้แก่ ผัก ผลไม้ (มะละกอ กล้วย ส้ม…

ทางเดินอาหาร
acare_Gastro_Laxative_addiction_thumbnail

เมื่อพูดถึงยาระบาย เราจะเห็นว่าเป็นยาที่หาได้ง่ายใช้กันบ่อยเวลาท้องผูก แต่รู้หรือไม่ว่าจริง ๆ แล้วยาระบายในท้องตลาดมีอยู่หลากหลายชนิดมาก และมีวิธีใช้ที่แตกต่างกัน ปัจจุบันยังพบปัญหาจากการใช้ยาระบายอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ใช้ยาระบายต่อเนื่องทุกวัน จนคนทั่วไปพูดกันติดปากว่า “ติดยาระบาย” ยาระบายมีกี่ชนิด เป็นอย่างไร ทำไมถึงติดยาระบายได้ ยาระบายที่มีใช้กันในปัจจุบันมีหลายกลุ่ม และยังมีหลายรูปแบบ เช่น ยารับประทาน ยาชง ยาเหน็บ ยาสวนทวาร ตัวอย่างยาระบายที่ใช้กันทั่วไป ได้แก่ ● ยาระบายที่ออกฤทธิ์คล้ายไฟเบอร์ คอยอุ้มน้ำไว้ในลำไส้ เพิ่มปริมาณอุจจาระและทำให้อุจจาระนิ่มขึ้น ยาระบายพวกนี้มักเป็นผงชงกับน้ำแล้วรับประทาน ถือเป็นยาระบายแบบอ่อน ● ยาระบายที่ดูดน้ำเข้ามาในลำไส้เพื่อทำให้อุจจาระนุ่มและลำไส้เคลื่อนตัวได้ดีขึ้น เช่น มิลค์ออฟแมกนีเซีย แลคทูโลส ● ยาระบายที่ออกฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้โดยตรง เช่น ยาระบายมะขามแขก หากใช้ยากลุ่มนี้เป็นเวลานานจะเกิดปัญหาง่ายกว่ายากลุ่มอื่น เพราะอาจทำให้ “ลำไส้เฉื่อย” ไม่ยอมทำงานด้วยตนเอง เริ่มดื้อยาระบาย จึงต้องเพิ่มขนาดยาขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้ถ่ายได้เหมือนเดิม หรือเวลาหยุดยา ลำไส้ไม่ยอมเคลื่อนไหวจึงท้องผูก เป็นเหตุให้ผู้ป่วยหยุดใช้ยาไม่ได้ และทำให้ดูเหมือนติดยาระบายในที่สุด จัดการอย่างไรดี วิธีป้องกันการติดยาระบาย คือ ไม่ใช้ยาระบายพร่ำเพรื่อ ให้ใช้เมื่อจำเป็นจริง ๆ…

ทางเดินอาหาร
THL2173067-4 EXP:(7-Nov-2024)